การออกแบบโลโก้ (Logo) และ CI (Corporate Identity)
การออกแบบโลโก้ (Logo Design) สามารถทำได้หลายรูปแบบและหลายระดับ เพราะโลโก้ มีรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันอยู่มากมาย ตั้งแต่โลโก้ขนาดเล็กๆ เช่น โลโก้ส่วนตัว, โลโก้กลุ่ม, โลโก้เพจ, โลโก้สินค้า ไล่ไปเรื่อยๆ จนถึงโลโก้สินค้าขนาดใหญ่, โลโก้แบรนด์, โลโก้องค์กร ที่อาจออกแบบพร้อมมีคู่มือการใช้ และการออกแบบอัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity) ประกอบไปด้วย
การออกแบบโลโก้นั้น ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม การสื่อสารถึงความหมายที่ต้องการ การเชื่อมโยงกับสินค้าหรือองค์กร รวมไปถึงการทำหน้าที่ส่งเสริมการขายได้ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรหรือสินค้า รวมทั้งอาจใช้สื่อสารความหมายบางอย่างได้อีกด้วย
โดยหลัก การออกแบบโลโก้นั้น สามารถสร้างสรรค์ได้ 2 ทาง คือ สร้างจากสิ่งที่เป็น โดยดูจากภาพลักษณ์ที่มีมา รูปแบบ หรือแนวทางที่องค์กรหรือสินค้านั้นเป็นอยู่ หรือหากเป็นสินค้าใหม่ องค์กรที่พึ่งสร้าง อาจสร้างโดยกำหนดภาพลักษณ์ให้ภายนอกมองเข้ามาแล้วรู้สึกอย่างไร หรือเชื่อว่า องค์กรหรือสินค้านั้น มีลักษณะอย่างไรก็ได้
จะเห็นได้ว่า โลโก้ อาจมีส่วนในการใช้กำหนดทิศทางที่เป็นรูปธรรมให้กับองค์กรหรือสินค้าได้ แม้ว่า ทิศทางหรือแนวปฏิบัตินั้น จะถูกวางแผนกำหนดเอาไว้ก่อน แต่โลโก้ ก็ยังสามารถเป็นเครื่องหมายเอาไว้เพื่อยืนยันได้อีกด้วย และหากยิ่งเพิ่มการสร้างอัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity : CI) เข้าไปอีก จะยิ่งแสดงแนวทางหรือคอนเซ็ปท์ต่างๆ ที่ต้องการ ให้เป็นที่รับรู้กันได้ง่ายขึ้น ผ่านการใช้สี เช่น สีน้ำเงินเข้มของตัวอย่าง ถูกนำไปใช้เป็นสีหลักของงานต่างๆ, สื่อต่างๆ, ไปจนถึงสีของตัวอาคาร, ป้าย, และการตกแต่งอื่นๆ หรือ Font ที่เลือกใช้ ถูกนำไปเป็น font ที่จะใช้กับงานทุกชิ้นขององค์กรนั้น (บางครั้ง อาจเขียน font เฉพาะขึ้นมาเป็นของหน่วยงานตนเองด้วยก็มี) เพื่อให้ทุกสื่อ มีภาพที่คนทั่วไปจะสามารถจดจำและระลึกถึงองค์กรได้
ตัวอย่างด้านล่าง เป็นการออกแบบโลโก้ โดยปรับปรุงจากโลโก้เก่า มีการกำหนดรายละเอียด, สี, จังหวะ, อัตราส่วน ทั้งหมดขึ้นมาใหม่ เพื่อให้มีมาตรฐานรูปแบบที่ถูกต้องและมั่นคงเพียงพอที่จะนำไปใช้ การสร้าง Corporate Identity ลำหรับโลโก้ชิ้นนี้ จะกำหนดทุกอย่างเอาไว้ทั้งหมด เช่น ขนาดของโลโก้ เมื่อนำไปใช้ในงานขนาดต่างๆ , ตำแหน่งการวางโลโก้ลงบนชิ้นงาน ทั้งในสื่อต่างๆ หรือสินค้าอื่นๆ, การใช้สี ที่นำมาจากโลโก้ ไปใช้กับสิ่งอื่นๆ ทั้งหมด, และเมื่อใช้กับงานลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น งานสีเดียว, งานที่พิมพ์ลงบนพื้นผิวหรือวัสดุต่างๆ จะมีลักษณะของโลโก้ที่นำไปใช้ไม่เหมือนกัน
ทั้งนี้ ผลงานตัวอย่างนี้ เป็นตัวอย่างผลงานแบบเต็มรูปแบบ ที่พยายามนำเสนอให้ครบถ้วนตามความจำเป็นให้มากที่สุด แต่หากลูกค้ามีความต้องการในระดับที่ลดน้อยลงมา ก็สามารถปรับเปลี่ยนจำนวนลงมาได้ครับ ดังนั้น ลูกค้าที่กังวลว่า อยากจะสร้าง Corperate Identity ให้กับบริษัท แต่อาจจะเกินความจำเป็นจนราคาสูงเกินไป ก็สามารถลดทอนสิ่งที่ไม่ต้องการออกได้ครับ