หลายครั้งที่ความเข้าใจเรื่องรูปภาพ ระหว่างนักออกแบบและลูกค้า มักไม่ตรงกัน และหลายครั้งที่ทำให้เกิดปัญหาในระหว่างการทำงาน เพราะความเข้าใจที่แตกต่างกันนั้น มีรายละเอียดที่ต่างกันอยู่มากพแสมควร จนสร้างปัญหาได้
ในออกแบบกราฟิกในยุคนี้ ไม่ว่าจะสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่อดิจิตอล มักเน้นรูปภาพมากกว่าคำอธิบาย โดยเฉพาะงานสายออนไลน์ที่ต้องดูผ่านสื่อดิจิตอลหลายรูปแบบ ถ้าดุผ่านจอคอมพิเตอร์ ก็อาจจะไม่ยุ่งยากมากนัก แต่ถ้าข้อความยาวๆ ถูกดูผ่านจอมือถือ มักไม่เป็นที่นิยมและอ่านข้ามไปเสียบ่อยๆ จนสารที่ต้องการจะสื่อนั้น ไม่ทำงานได้ดีเท่าที่ควร
รูปภาพสวยๆ ที่อาจจะผ่านการเซ็ตถ่ายมาเป็นอย่างดี หรือการรีทัช ตกแต่งออกมาสวยงามและสื่อความหมายได้ครบถ้วนชัดเจน เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับงานออกแบบเสมอ ดังนั้น เราจึงมีช่องทางหารูปภาพมาใส่ลงไปในงานออกแบบได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างขึ้นเองจากโปรแกรมกราฟิกต่างๆ, การถ่ายรูป ที่อาจถ่ายกันเอง (กล้อง DSLR ในสมัยนี้ราคาไม่แพงแล้ว) ไปจนถึงการจ้างช่างถ่ายภาพและสตูดิโอราคาแพง, การเช้าซื้อจากเวปหรือแหล่งขายภาพถ่าย ที่เรียกกันว่า Stock Photo ที่มีหมวดหมู่ คำค้น คีย์เวิร์ด ในการค้นหาได้ไม่ยากนัก รูปภาพในหลายๆ เวปรวมกันน่าจะหลายพันล้านรูปเข้าไปได้แล้ว จึงเป็นตัวเลือกที่ง่าย สวยงามกว่าถ่ายเอง และราคาประหยัดกว่าถ่ายเองในหลายๆ กรณี ไม่ต้องจ้างนางแบบ ไม่ต้องมีค่าจัดแสงจัดไฟ
แต่หลายครั้ง ที่ยามทำงาน การเข้าซื้อรูปในสต็อคโฟโต้ ก็อาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป สินค้านั้นอาจเป็นสินค้าของบริษัท ภาพที่ต้องการ อาจเป็นภาพเฉพาะ ดังนั้น การเซ็ตถ่ายเองจึงเป็นตัวช่วยที่ดีกว่า แต่ไม่ใช่ทุกครั้งจะทำได้ บางที เราจึงต้องทำงานกับไฟล์เก่าแก่จากในอาร์ตเวิร์คตัวอื่นๆ หรือลูกค้าไม่อยากเสียค่าลิขสิทธิ์ไปยังบริษัทแม่ ที่หากต้องการจะใช้ภาพเพื่อนำมาทำโฆษณา ก็อาจต้องจ่ายเงินในส่วนนี้ให้กับบริษัทแม่ก็มี รูปภาพที่ตกทอดมา จึงมักไม่เหลือคุณภาพที่ดีพอให้ใช้งาน หรือบางครั้งก็ใช้วิธีดึงออกมาจากเวปก็มี เพราะลูกค้ามักไม่รู้ว่า ขนาดที่เมื่อมองผ่านจอคอมพิวเตอร์ ถ้าถูกนำมาทำเป็นงานสิ่งพิมพ์ ขนาดที่เห็น จะต้องลดขนาดลงไปจากเวปหลายเท่า ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังนี้
โดยหลัก งานกราฟิกในยุคสมัยนี้ จะแสดงตัวผ่านสื่ออยู่ 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
1.สื่อดิจิตอล งานที่แสดงผลผ่านจอเป็นหลัก ทั้งจอคอมพิวเตอร์ จอโทรศัพท์มือถือ จอแทปเลท จอทีวี หรือจอ Billboard LED ต่างๆ ที่มักเป็นการแสดงผลโดยใช้ความละเอียดที่น้อยกว่าสิ่งพิมพ์ หรือหากเป็นภาพเคลื่อนไหว หากใช้ภาพแต่ละเฟรมที่ความละเอียดสูงๆ ก็จะใหญ่โตเกินความต้องการและทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่มากเกินความจำเป็นไปด้วย
2. สื่อสิ่งพิมพ์ งานที่ลงในหนังสือ แผ่นพับ โบรชัวร์ หนังสือพิมพ์ แมกกาซีน หรือสิ่งพิมพ์รูปแบบอื่นๆ ซึ่งจะใช้รูปภาพที่มีข้อบังคับเรื่อง Resolution ที่แตกต่างกันไป ในขนาดชิ้นงานขนาดเดียวกัน
นิตยสาร โปสเตอร์ โบรชัวร์ ไดเรคเมลล์ เป็นงานสิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก ความละเอียดของรูปภาพจำต้องละเอียดที่สุด
หนังสือพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์ลงบนกระดาษปรู๊ฟ ซึ่งมีเนื้อกระดาษที่หยาบกว่านิตยสาร จึงไม่จำเป็นต้องใช้ความละเอียดที่สูงเท่า
งานองค์เจ็ท หมึกจะมีการซึมเข้าหากันของเนื้อสีมากกว่า เมื่อมองไกล้ๆ จึงไม่จำเป็นต้องละเอียดเท่านิตยสาร และหากเป็นสิ่งพิมพ์ขนาดใหญ่ที่มองจากที่ไกลมากๆ ความละเอียดก็จะยิ่งสามารถลงนาฃดลงไปได้มากขึ้นไปตามระยะการมอง เช่นบนสื่อ Billboard ที่เป็นรูปภาพที่มีขนาดใหญ่มากๆ รวมทั้งมองจากระยะไกลมาก ขนาดไฟล์จึงสามารถใช้ความละเอียดต่ำที่สุดได้ และเพื่อไม่ให้ไฟล์ที่ทำมีขนาดใหญ่จนเกินไปจนเครื่องไม่สามารถแก้ไขอะไรได้สะดวก
สื่อดิจิตอล แสดงผลผ่านจอ ที่มักมีความละเอียดไม่สูงมากนัก แม้จอภาพในสมัยนี้ อาจละเอียดสูงถึง 4K หรือ 8K แล้วก็ตาม แต่ความละเอียดเท่านั้น มักมุ่งเน้นไปที่ภาพยนตร์ เกม หรือสื่อบันเทิงเสียมากกว่า โดยปกติ ในปัจจุบัน มักทำเพื่อรองรับการแสดงผลผ่านโทรศัพท์มือถือเสียด้วยซ้ำ หรือแม้แต่จอ Billboard LED ขนาดใหญ่ที่เราเห็นได้จากท้องถนน ก็ไม่ได้ต้องการไฟล์ภาพแต่ละเฟรมที่ความละเอียดสูงมากนัก เพราะข้อจำกัดในการแสดงผลยังมีอยู่มาก
สมมุติ เราใช้จอคอมพิวเตอร์เป็นค่าหลักที่จะพูดถึง หากเราต้องการการแสดงผลในขนาดเท่ากันกับหนังสือ เราใช้ Resolution (ความละเอียด) ที่ 72 DPI เท่านั้น ดังนั้น ไม่แปลกที่เราจะรู้สึกว่า เราเปิดไฟล์ภาพนี้มา มันก็ใหญ่เกือบเต็มหน้าจอคอมพิวเตอร์ แต่ทำไมไฟล์มันไม่ใหญ่พอจะนำไปใช้ในงานสิ่งพิมพ์ได้ เพราะในขนาดที่เท่ากันนั้น จอคอมใช้ Resolution ที่ 72 DPI เพียงเท่านั้น ขณะที่สิ่งพิมพ์ อาจต้องใช้ถึง 300 DPI รวมถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ จะช่วยเกลี่ยสภาพ หากไฟล์ภาพของเรามีขนาดเล็กกว่าจออยู่บ้าง เราก็จะยังพอมองเห็นที่ความคมชัดได้ดีในระดับหนึ่ง
สื่อสิ่งพิมพ์ แสดงผลผ่านหมึกพิมพ์ที่พิมพ์ลงในกระดาษ หากเป็นสิ่งพิมพ์ดีๆ ที่ต้องการคุณภาพสูงๆ เนื้อกระดาษเรียบ เนียน แน่น การพิมพ์สีจำเป็นต้องใช้ความละเอียดในการพิมพ์สูงพอสมควร นักออกแบบมักตั้งค่าไฟล์ภาพที่ขนาดจริง และมี Resolution ที่ 300 เป็นหลัก ขนาดถึงแตกต่างกันกับการแสดงผลผ่านจออย่างมาก (ดูตัวอย่างขนาดไฟล์ได้ที่ภาพสุดท้าย) และอาจลด Resolution ลงไป เมื่อพิมพ์ลงบนวัสดุที่คุณภาพต่ำลง หรือเป็นสื่อที่มองในระยะไกล เช่น หากเป็นโบรชัวร์ การมองสามารถมองได้ไกล้ที่สุด ความละเอียดของไฟล์และการพิมพ์จึงจำเป็นต้องละเอียดที่สุด แต่เมื่อเป็นโปสเตอร์ที่ติดผนัง อาจใช้ความละเอียดลดลงมาได้อีกเล็กน้อย หรือกากเป็นงานพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทที่มองไกล้ ก็อาจลด Resolution ลงเป็น 200 DPI หรือ 150 DPI ก็ยังได้ เพราะเทคนิคการพิมพ์ภาพด้วยอิงค์เจ็ทหลายๆ ยี่ห้อ ยังไม่สามารถแสดงผลได้ดีกว่านั้นได้ และหากต้องมองระยะไกล ก็จะยิ่งสามารถลด Resolution ลงได้อีกมาก เช่น Billboard ที่ต้องมองไกลออกไปเป็นหลักร้อยเมตร อาจใช้ความละเอียดแค่ 72 หรือ 50 DPI ก็ยังได้ รวมทั้งสามารถทำขนาดไฟล์ที่เล็กลงมา 1/2 ก็ได้เช่นกัน
ภาพนี้ กำหนดขนาดไว้ที่เท่ากันคือประมาณ 20 x 20 ซม. เมื่อเป็นสิ่งพิมพ์ จะใช้ความละเอียดที่ 300 DPI แต่เมื่อเป็นผ่านจอ เราสามารถลดลงเหลือ 72 DPI ได้ ดังนั้น ลองสังเกตุตรง Dimension จะเห็นค่า px หรือ พิกเซล ที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับความละเอียด (Resolution) ของการแสดงผลนั้นๆ โดยสิ่งพิมพ์ จะเป็น 2362 x 2362 พิกเซล แต่ขนาดบนจอคอมพิวเตอร์ จะเหลือเพียง 567 x 567 พิกเซล เท่านั้น
ดังนั้น เมื่อลูกค้าบางคนให้โหลดภาพจากเฟสบุคหรือเวป มาใช้ในงานสิ่งพิมพ์ จึงมักโดนนักออกแบบปฏิเสธ เพราะถ้าเราจะพิมพ์งานขนาด 20 x 20 ซม. เราจะดึงมาจากเวปหรือเฟสบุค เพราะมองด้วยตาเหล่าแล้วก็เห็นภาพมันน่าจะขนาดไกล้เคียงกัน แต่ค่าของมันจริงๆ ก็มีเพียง 567 x 567 พิกเซลเท่านั้น ซึ่งต่างกันมาก
ถ้าเราต้องการรู้ขนาดพิกเซลคร่าวๆ ของภาพ ว่าเพียงพอต่อการนำไปใช้งานหรือไม่ ลองคิดแบบนี้ดูครับ เช่น ถ้าเราต้องการใช้ภาพขนาด 5 x 5 นิ้ว เราก็คิดคร่าวๆ ว่า (5 x 300 – 1500), (5 x 300 – 1500) ดังนั้น เมื่อต่อหารูป เราควรจะหารูปที่ขนาดไม่น้อยกว่า 1500 x 1500 พิกเซล เอาไว้ก่อนครับ